เวชสำอาง เทรนด์ดูแลผิวหน้าสุดอ่อนโยน

เนื้อหาบทความ

ปัจจุบันการสร้างแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับ เวชสำอาง ครีม สกินแคร์ หรือเครื่องสำอาง เป็นของตัวเองนั้นมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว พร้อมมีการนำเสนอจุดขายเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของแต่ละแบรนด์ และคำศัพท์ที่มักนิยมใช้อ้างว่านี้ก็คือ “เวชสำอาง” บางแบรนด์เคลมว่าตนเองขายสินค้าเวชสำอาง ถ้าเราสังเกตุและอ่านส่วนผสมและสรรพคุณดี ๆ ก็จะเกิดความสงสัย ว่าเวชสำอางสรุปแล้วคืออะไร แตกต่างกันกับยาและสกินแคร์อย่างไร จากบทความนี้เราได้รวบรวมข้อมูลมาเพื่ออธิบายให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น


เวชสำอางคืออะไร

เวชสำอาง

คำว่าเวชสำอาง มีรากศัพท์ที่มาจากคำว่า Cosmetic และคำว่า Pharmaceutical ซึ่งบุคคลที่ได้พูดถึงคำนี้เป็นครั้งแรก คือ Raymond Reed ได้พูดในปี ค.ศ. 1961 โดยใน ณ ขณะนั้นคำว่าเวชสำอาง มีความหมายว่าผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติเป็นยาและเครื่อง

สำอาง คือ การทำให้เครื่องสำอางสามารถออกฤทธิ์ หรือผลลัพธ์ที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งเกิดจากความแตกต่างของชั้นผิวหนัง เวชสำอางจะไม่ได้มีการเน้นในเรื่องของการเสริมความงาม แต่จะเน้นไปที่ประสิทธิภาพของการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง โดยที่มีส่วนผสมอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมมากพอที่จะทำให้เห็นความแตกต่างที่ดีขึ้น

จะเห็นได้ว่าเครื่องสำอางนั้นจะเน้นโดยเฉพาะเจาะจงในเรื่องของความสวยงาม แต่ในขณะที่เวชสำอางนั้นจะเน้นไปในเรื่องประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาผิว และเน้นการเห็นผลจริงหลังจากการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ลดการระคายเคืองของผิว ลดการอักเสบของสิว ลดริ้วรอย


ข้อดีของเวชสำอางคืออะไร

เวชสำอาง

เวชสำอางมีคุณสมบัติหลัก ๆ คือการรักษาปัญหาผิวแบบเฉพาะจุด ข้อดีของเวชสำอาง คือเหมาะกับผู้ที่ต้องการเน้นผลลัพธ์ในการดูแลผิวพรรณ และต้องการแก้ไขปัญหาผิวแบบเฉพาะจุด เช่น ลดการอักเสบของผิวหนัง ลดอาการเกิดของสิว เพิ่มความชุ่มชื้น

ซึ่งควรจะศึกษาส่วนผสมต่าง ๆ ที่นำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ และเลือกใช้เวชสำอางที่มีการรับรองจากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานของท่านเองเพราะในปัจจุบันมีหลาย ๆ แบรนด์ที่อ้างว่าเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอาง เพื่อการตลาดและยอดขายก็อาจจะทำให้ผู้บริโภคบางคนเกิดความเข้าใจผิดได้ และอาจจะหลงเชื่อนำผลิตภัณฑ์นั้นมาใช้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาอาการแพ้ที่รุนแรงจากสารสกัดที่อันตรายหรือถูกห้ามใช้ หรือส่วนผสมที่ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นการเลือกโรงงานรับผลิตดีกว่าผลิตเองเพราะเครื่องสำอางรูปแบบนี้ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน


เทรนด์ของเวชสำอางในตลาด

เวชสำอาง

วลีคุ้นหูที่บ่งบอกว่าผู้หญิงให้ความสำคัญกับเรื่องความงามเป็นอันดับต้น ๆ ไม่ว่ายุคสมัยใด คือวลีที่ว่าผู้หญิงอย่าหยุดสวย ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้มีเพียงแค่ผู้หญิงเท่านั้นที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการดูแลตัวเอง แม้แต่เพศชายยังหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องความงามมากขึ้น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะความงามเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี และเสริมสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง ทำให้ปฏิเสธไม่ได้ว่าเครื่องสำอางและเวชสำอางได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันทั้งชายและหญิง

เทรนด์การตลาดเครื่องสำอางและเวชสำอางในปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้นทั้งเรื่องชนิด คุณสมบัติ คุณภาพ และราคา ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและยังสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี นำไปสู่ปัญหาที่เจ้าของแบรนด์อาจเจอ เนื่องจากตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ประกอบการจึงต้องหันมาใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อดึงดูดลูกค้ารูปแบบต่าง ๆ เพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาดที่มีมูลค่ามหาศาลทั้งในประเทศและนอกประเทศ

ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและเวชสำอางของไทยมีจำนวนโรงงานผลิตรวมประมาณ 762 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก ประมาณ 520 แห่ง ผู้ประกอบการขนาดกลาง 220 แห่ง และผู้ประกอบการขนาดใหญ่ 22 แห่ง จากรายงานพบว่า ตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณในประเทศไทย เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มแถบประเทศอาเชียน ซึ่งมีอัตราการเติบโตมากขึ้น 2.5% แบ่งเป็นตลาด Mass มีสัดส่วน 77% และตลาด premium มีสัดส่วน 23% ส่วนตลาดเครื่องสำอางสำหรับการแต่งหน้าและเวชสำอางในไทยก็เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยเช่นกัน


เครื่องสำอางนำเข้ายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

การจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจสมาคมอาเซียน ทำให้เครื่องสำอางและเวชสำอางแบรนด์ดังต่าง ๆ จากต่างประเทศทยอยเข้ามาทำการตลาดในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเครื่องสำอาง เวชสำอางจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่นหรือแม้แต่เครื่องสำอางและเวชสำอางจากสหรัฐฯ และยุโรป ก็มีเเนวโน้มจะหาตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น

หลังจากตลาดเครื่องสำอางในประเทศเหล่านั้นต้องเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจเติบโตที่ลดลง อีกทั้งการเข้ามาทำการตลาดในไทยก็เพื่อใช้เป็นฐานในการทำตลาดภาคอาเซียน นอกจากนี้เครื่องสำอางจากประเทศจีนก็เริ่มมีอิทธิพลและเข้ามาทำตลาดมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ยังมุ่งเจาะจงกลุ่มตลาดของคนงบน้อยเป็นหลัก


  5 สารสกัดที่แนะนำ และนิยมใช้ในเวชสำอาง

เวชสำอาง

  • Alpha Tocopherol (Vitamin E) เป็นสารสกัดที่ได้มาจากผัก ถั่ว น้ำมันพืช มีหน้าที่ช่วยยับยั้งสารเอนไซม์ Tyrosinase และช่วยเพิ่มสาร Glutathione ที่เป็นส่วนประกอบหลักที่ช่วยในเรื่องการทำให้ผิวขาวกระจ่างใส Vitamin E ยังสามารถลดริ้วรอยและรอยแผลเป็นต่าง ๆ ซึ่งในส่วนมากจะนิยมใช้ร่วมกับ Vitamin C เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อเอาไปใช้ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ และยังทำให้ผิวขาวใสยิ่งขึ้น
  • Lactic Acid พบในผลิตภัณฑ์ที่มาจากนม เช่น นม โยเกิร์ต ชีสที่เป็น  AHA ชนิดหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่กำจัดเซลล์ผิวอย่างอ่อนโยน ยับยั้งทั้งเอนไซม์ Peroxidase และ Tyrosinase ไม่ให้ผลิตเม็ดสีเพิ่มขึ้น จึงทำให้ผิวดูขาวกระจ่างใสขึ้นได้และยังให้ความชุ่มชื่นกับผิวด้วย เหมาะมากสำหรับคนที่มีผิวแห้งแต่อยากมีผิวที่ขาวและยังทำให้เกิดการระคายเคืองน้อยที่สุดในบรรดา AHA ด้วย
  • Ascorbyl Palmitate (Vitamin C Ester) ทำหน้าที่คล้ายกับ Vitamin C แต่จะมาในรูปแบบของน้ำมัน มีประสิทธิภาพที่สูงกว่า L-Ascorbic Acid เนื่องจากจะไม่ละลายในน้ำ จึงทำให้ซึมเข้าสู่ผิวได้มากกว่าและเข้าไปช่วยได้ตรงจุดมากกว่าเมื่อถูกผสมในผลิตภัณฑ์ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนของผิว ช่วยปรับให้ผิวขาวกระจ่างใสเหมาะสำหรับเป็นส่วนผสมในครีมที่มี L-Ascorbic Acid และ Vitamin E ซึ่งจะไปช่วยปรับให้ผิวขาวกระจ่างใสยิ่งขึ้นอีก
  • Kojic Acid พบเจอได้ในกระบวนการหมักข้าวมอลต์ เช่น สาเกญี่ปุ่นซึ่งจะไปช่วยลดความหมองคล้ำและจุดด่างดำ โดยจะช่วยลดเม็ดสีในชั้นผิว ด้วยการยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในการสร้างเม็ดสีทำให้ผิวคล้ำขึ้น ทำให้ผิวขาวกระจ่างใสได้อย่างรวดเร็วและได้ผลในระยะยาวซึ่งจะไม่ทำให้ผิวบาง และไม่ทำให้ผิวไวต่อแสง สามารถใช้ต่อเนื่องได้โดยไม่มีผลข้างเคียง Kojic Acid Dipalmitate ที่จะคล้ายกับ Kojic Acid แต่ซึมลงผิวได้มากกว่า
  • Arbutin จะมีทั้งหมด 2 แบบ Alpha Arbutin (แบบสังเคราะห์) และ Beta Arbutin (แบบได้จากธรรมชาติ เช่น Cranberries และ​Blueberries) มีความปลอดภัยอย่างมาก จะไม่มีการทำลายเชลล์ที่สร้างสีผิว และไม่ทำให้เกิดฝ้ากระ มีข้อเสียคือราคาค่อนข้างแพง และต้องใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไปถึงจะเห็นผล

จะเห็นได้ว่าสารสักดที่เราได้แนะนำไปนั้นค่อนข้างมีความซับซ้อนในการผลิตดังนั้นเรื่องที่ต้องระวังเมื่อจ้างโรงงานรับผลิต คือควรตรวจสอบส่วนผสมให้ดี และต้องผ่านการทดสอบการใช้งานทุกครั้งก่อนนำไปผลิตจริง


คำว่า “เวชสำอาง” เป็นคำที่ประเทศไทยเราบัญญัติศัพท์ขึ้นมาเอง ซึ่งมีผลลัพธ์คล้ายกับยาแต่ไม่ใช่ยา เพราะไม่มีผลในการรักษาโรคต่าง ๆ และทำได้เพียงแค่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวได้ในทางที่ดีขึ้น ซึ่งคำคำนี้ ยังไม่ได้รับการบรรจุอย่างถูกต้องทั้งใน อย. ทั้งที่ไทย และที่ต่างประเทศ

แต่หากอ้างอิงตามกฎหมายของประเทศไทยแล้ว คำว่า “เวชสำอาง” ไม่จัดอยู่ในประเภทของเครื่องสำอางแบบที่กองควบคุมเครื่องสำอางหรือ อย. กำหนดไว้ แต่ถ้าหากเมื่อไหร่ที่ อย. ไทย ได้ระบุชัดเจน ถึงข้อกำหนดเวชสำอางว่า ต้องมีอัตราสัดส่วนของวัตถุดิบใด ปริมาณเท่าไหร่ ถึงจะถือว่าเป็น cosmecuetical ได้ หลาย ๆ แบรนด์อาจถึงจะได้ทำการปรับปรุงสูตรสินค้าให้เป็นไปตามข้อกำหนดนั้น ๆ


อ้างอิง

Facebook
Twitter
Pinterest