สร้างแบรนด์ตัวเอง ไม่ใช่เรื่องง่าย
แบรนด์ของสินค้าก็คล้ายกันกับมนุษย์ เป็นสิ่งมีชีวิตและมีลมหายใจ ที่ต้องได้รับการเลี้ยงดูเพื่อความอยู่รอด ไม่ต่างจากการเลี้ยงดูเด็กคนหนึ่งให้เจริญเติบโตในอนาคต จะดีหรือไม่ดีก็อยู่ที่การเอาใจใส่ แต่ในหลาย ๆ ครั้ง ก็ต้องยอมรับว่า แบรนด์ก็ถูกทำให้ละเลยหรือถูกมองข้ามไป ไม่ว่าจะเป็น การที่ผู้ประกอบการขาดประสบกาณ์ หรือ มองข้ามข้อบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ในครั้งแรกไป จนเกิดปัญหาที่ 2 ปัญหาที่ 3 ตามมา กลายเป็นเชือกที่ถูกปมขมวดไว้หลายทบ ยุ่งเหยิง และต้องใช้เวลาในการแก้ สมมติว่าปัญหานั้นมันได้เกิดขึ้นแล้ว คุณจะทำอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้แบรนด์ของคุณที่สร้างมากับมือพังทะลายต่อหน้าต่อตา? และนี่คือ 7 ปัญหาที่ต้องเตรียมรับมือที่อาจเกิดขึ้น เมื่อเริ่ม สร้างแบรนด์ตัวเอง
7 ปัญหาที่เจ้าของแบรนด์อาจเจอ
เจ้าของแบรนด์อาจเจอกับปัญหาต่าง ๆ ในกระบวนการสร้างและดูแลแบรนด์ นี่เป็น 7 ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ และควรเตรียมพร้อมรับมือ ได้แก่
1. ปัญหาโรงงานผิดนัด
“โรงงานผิดนัด” เป็นปัญหาที่เจ้าของธุรกิจมีโอกาสในการเจอสูง ส่งผลกระทบเป็นทอด ๆ ทั้งฝ่ายลูกค้าและตัวแทน เพราะต่างก็รอสินค้า เรื่องนี้บอกเลยต้องจัดการกับความเสี่ยงให้ดี เรื่องการบริหารสต็อกสินค้าก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ไม่ควรละเลย บทความแนะนำ วิธีเลือกโรงงานผลิต ให้เหมาะกับธุรกิจสำหรับมือใหม่
2. ปัญหาการทำบัญชี
“ก็ได้กำไร แต่ทำไมตังค์มันไปไหนหมดไม่รู้” คำถามนี้จะไม่เกิดขึ้นเลย หากมีการทำบัญชีไว้ตั้งแต่ต้น การทำบัญชีเป็นสิ่งจำเป็นมาก มันเป็นสิ่งที่ทำให้รู้ว่าเราลงทุนอะไร ได้กำไรเท่าไหร่ ตลอดจนจะจัดการหาทุนหมุนเวียน ถ้าจัดการงานด้านบัญชีดี ๆ ปัญหาของธุรกิจก็จะน้อยลง ช่วยลดความเสี่ยงในธุรกิจที่ยังอาจมองไม่เห็น และชีวิตเจ้าของธุรกิจก็จะง่ายขึ้นเยอะ
3. การตัดราคา
ปัญหาภายในลูกทีมขายของตัดราคากันเอง ในฐานะเจ้าของแบรนด์ต้องควบคุม และมีการจัดการให้ดี และยิ่งธุรกิจคุณได้เปิดหาตัวแทนจำหน่ายที่มีแม่ทีมหลายคน อาจเกิดเหตุการณ์ที่ว่าแม่ทีมของธุรกิจ เกิดอยากเป็นเจ้าของแบรนด์เสียเอง ผลที่ตามมา คือ ถูกดึงลูกค้าของเราไป คราวนี้เสียทั้งลูกค้า และเกิดการขายตัดราคาที่ต้องหาวิธีรับมือให้ดี
4. กระแสหาย
เมื่อมีกระแสก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เป็นเรื่องธรรมดาของการตลาด แต่เมื่อไหร่ที่กระแสดรอปก็แทบตั้งตัวไม่ทัน สินค้าหลายตัวเปิดตัวได้อย่างสวยสดงดงาม ได้ยอดขายเป็นกอบเป็นกำ แต่ไม่นานนักก็ต้องคิดหนัก เพราะได้สั่งผลิตไว้ ไหนของที่สต็อกไว้มหาศาลอีก จะเอาไงดี เหมือนเป็นโจทย์อันท้าทายว่า จะทำอย่างไรให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ…แม้ไม่อยู่ในกระแส ข้อมูลที่คุณควรศึกษาเพิ่มเติม กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ตั้งอย่างไรให้แบรนด์ประสบความสำเร็จ
5. ของขาดสต็อก
ปัญหาสินค้าขาดสต็อก ของไม่พอขาย ฯลฯ ผู้ประกอบการรายใหม่มักเผชิญความเสี่ยงของปัญหานี้มากกว่าเจ้าของแบรนด์ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจมานาน เป็นเพราะยังขาดประสบการณ์ในการคาดการณ์ความต้องการของผู้บริโภค หรือ ไม่ได้มีเงินทุนหมุนเวียน หรือ เงินสำรองมากนัก และถ้าวางแผนไม่ดี สั่งมาเยอะ ก็ทำขาดทุนเอาได้เหมือนกัน
6. โดนคู่แข่งโจมตี
โดนคู่แข่งโจมตี เป็นการแข่งขันทางการตลาด อยากให้มองในมุมว่าเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขัน การต่อสู้อาจมีแนวโน้มเข้มข้น หรือ เกิดการประนีประนอมร่วมมือกันในบางเรื่องบางราว เราสามารถโต้กลับได้ผ่านการวางแผนเพื่อโจมตี และจำไว้ว่าคู่แข่งที่ดีนั้น จะต้องไม่ต่อสู้นอกกติกา ไม่ฝ่าฝืนหลักศีลธรรมอันดี พร้อมที่จะปรับตัว หากเผชิญการต่อต้าน หรืออุปสรรคใด ๆ จากคู่แข่ง สู้ไปพร้อมกับการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ยังคงมีความน่าเชื่อถือ
7. โดน copy สินค้า
“ทำแบรนด์เอง แต่โดนก็อป ทำยังไงดี?” หากเจอปัญหานี้ในอนาคต ติดต่อกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเบื้องต้น กับ กรมทรัพย์สินทางปัญญาผ่านทางสื่อโซเชียลออนไลน์อย่าง Facebook ได้ ที่ https://www.facebook.com/ipthailand หรือเข้าไปที่เว็บไซต์หลัก http://www.ipthailand.go.th/
เพื่อหาทางแก้ไขในอนาคตว่าควรทำอย่างไรต่อไป ดีกว่าจะปล่อยให้สินค้าของตนเองถูกละเมิดลิขสิทธิ์ คือ ไม่ควรปล่อยไป ไม่ควรนิ่งเฉยต่อการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ อย่าเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ผู้ที่กระทำความผิดควรชดใช้ เพื่อเป็นตัวอย่างของสังคม เจ้าของแบรนด์สามารถฟ้องร้องต่อศาล เพื่อเรียกค่าเสียหายได้ อย่าลืมรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบในการฟ้อง
นอกจากนี้ สิ่งที่จดแจ้งจะได้รับการคุ้มครองในอนาคต และไม่ตกเป็นของสาธารณะ เช็กเรื่องสินค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา และจดแบรนด์เครื่องหมายการค้าให้ดี ๆ ก่อนทำธุรกิจ
อ้างอิง
- รวมปัญหาที่บังคับให้แบรนด์คุณต้องเปลี่ยนกลยุทธ์แบรนด์. https://www.marketingoops.com/exclusive/how-to/9-problem-in-brand-strategy/