โรงงานรับผลิต vs ผลิตเอง เลือกแบบไหน ดีต่อธุรกิจและคุ้มมากกว่า

เนื้อหาบทความ

การเริ่มต้นทำธุรกิจต้องอาศัยทั้งความฝัน ความคิด การวางแผน แรงใจและแรงกาย เราไม่ได้บอกว่ามันง่าย แต่หากคุณเป็นมือใหม่ที่มีจุดประสงค์ว่าต้องการที่จะ “ขาย” แต่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าควรจ้าง โรงงานรับผลิต หรือ ผลิตเอง โดยที่ไม่อยากลองไปแบบผิดๆ ถูกๆ เราจึงรวบรวมข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสีย ระหว่าง จ้างโรงงานรับผลิต และการผลิตเองในทุกส่วน เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเริ่มต้นธุรกิจในครั้งนี้


การจ้างโรงงานรับผลิต

การจ้าง โรงงานรับผลิต

เป็นการที่ผู้จ้างผลิต ว่าจ้างให้โรงงานผลิตสินค้าในรูปแบบที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นสกินแคร์ เครื่องสำอาง อาหารเสริม คอลลาเจน สบู่ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า – ผิวกาย ฯลฯ ซึ่งผู้จ้างผลิตหรือเจ้าของแบรนด์อาจจะใช้สูตรที่คิดขึ้นมาเอง หรือ ให้บริษัทพัฒนาสูตร แกะสูตรใหม่ ก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับการเจรจาข้อตกลงต่างๆ ก่อนการสั่งผลิต เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการว่าจ้างก็สามารถนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด เพื่อจำหน่ายได้

ข้อดี

  • ทำให้รู้ต้นทุนการผลิตสินค้าต่อชิ้น ต่อล็อตได้ทันที คุมต้นทุนได้ ใช้เงินลงทุนน้อย ไม่ทำให้งบบานปลาย ลดต้นทุน ทั้งในส่วนของเครื่องมือ กระบวนการผลิต และการวิจัยพัฒนาสูตร ลดปัญหาหยุมหยิมซ้ำซ้อนต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับผู้เริ่มต้นสร้างแบรนด์ ทั้งนี้ เมื่อต้นทุนการผลิตลดลง การตลาดที่ดีก็ตามมา สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ การตั้งราคาที่จับต้องได้ของสินค้า ความสมเหตุสมผลนี้เอง ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้มากขึ้น หรือ ตัวสินค้าเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าที่เจ้าของแบรนด์ตั้งไว้ตั้งแต่แรก
  • การซัพพอร์ตในเรื่องใบอนุญาต และการออกแบบแพ็กเกจจิ้ง บริษัทรับผลิตสามารถให้คำปรึกษาได้ทั้งหมด ตั้งแต่หน่วยงาน อย. (สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา), การขอ มอก. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในสินค้า รวมไปถึงการออกแบบ packaging ของผลิตภัณฑ์ เป็นบริการที่แยกออกมา พร้อมแจ้งราคาคร่าวๆ ให้กับคุณโดยที่ไม่ต้องหาที่ใหม่ ประหยัดเวลา และช่วยลดภาระในส่วนนี้ไปได้ค่อนข้างมาก
  • โรงงานรับผลิต จะมีนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์/ผู้เชี่ยวชาญ ที่วิจัยสูตรสำหรับการผลิตสินค้าแต่ละชนิด สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ยังไม่มีสูตรเป็นของตัวเอง หรือ ต้องการสูตรใหม่ที่ไม่มีใครเหมือน บริษัทรับผลิตมีสูตรให้เลือกมากมาย หากมีความต้องการในรูปแบบไหน ก็สามารถแจ้งความประสงค์ให้โรงงานที่เป็นประเภท OEM พัฒนาสูตรเฉพาะสำหรับคุณได้ทันที ค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันไปในแต่ละสูตร/โรงงานที่รับผลิต ข้อดีคือมีการจัดการควบคุมคุณภาพการผลิตอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน ทำให้สินค้าในแต่ละล็อตนั้นมีคุณภาพคงเดิมทุกครั้ง อีกทั้งยังมีความสะดวกสบายและรวดเร็วในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การบรรจุ การจัดส่ง รวมไปถึงการจดทะเบียน อย. ทำให้ธุรกิจคล่องตัว พร้อมขายได้ไวมากยิ่งขึ้น

ข้อเสีย

  • ข้อเสียของการจ้างโรงงานผลิตอาหารเสริมก็คือ เราจะอาจจะต้องแชร์สูตรการผลิตกับแบรนด์อื่นๆ ถ้าหากทางนักวิจัยไม่สามารถคิดค้นสูตรเฉพาะให้ได้ ทำให้สินค้าของเราไม่ต่างจากสินค้าอื่นๆ ในท้องตลาด และเจ้าของแบรนด์นั้น อาจจะไม่ได้ติดตามควบคุมทุกขั้นตอนของการผลิตด้วยตัวเอง และ เรื่องที่ต้องระวังเมื่อจ้างโรงงานรับผลิต

การสร้างโรงงานผลิตเอง

สร้างโรงงานผลิตเอง

“อยากสร้างโรงงานเพื่อผลิตสินค้าเอง” ก็เป็นหนึ่งในความคิดของนักธุรกิจหลายๆ คน เรียกได้ว่าเป็นการสร้างแบรนด์ไปพร้อมๆ กับการมีโรงงานเป็นของตัวเอง เพื่อขยับขยายกิจการ เปิดช่องทางหาเงินที่เพิ่มขึ้น โดยลดต้นทุน จากการที่ต้องจ้าง Outsource มาผลิตสินค้าให้ อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของการเลือกที่จะสร้างโรงงานผลิตสินค้าเอง คือ ต้องลงทุนในเรื่องต่างๆ ทุกอย่างด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น ที่ตั้งโรงงาน เครื่องมือการผลิต ค่าคิดค้นสูตร วิจัยสูตร เป็นต้น รวมถึงควรศึกษาข้อมูล เรื่อง ข้อดีข้อเสียของการเป็นเจ้าของธุรกิจ ร่วมด้วย

ข้อดี

  • หากเป็นสูตรที่ผ่านการพัฒนาจนยอดเยี่ยมแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวว่าสูตรจะรั่วไหลไปถึงคนนอก เพราะเป็นสูตรที่คุณคิดค้นขึ้นมาเอง จึงไม่จำเป็นต้องแชร์สูตรกับใคร ส่งผลให้สินค้าที่ไม่ว่าจะเป็น ครีม อาหารเสริม เครื่องสำอาง จะมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน มีสูตรไม่ซ้ำกับแบรนด์ในตลาด เพราะเจ้าของแบรนด์สามารถควบคุมการผลิตได้ทุกขั้นตอน หากต้องปรับเปลี่ยนสูตรก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เหมาะสำหรับอาหารเสริมที่ต้องการกรรมวิธีที่ละเอียดอ่อนและรอบคอบมากๆ

ข้อเสีย

  •  ต้องลงมือวางแผนทำเองในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยไม่มีผู้ให้คำปรึกษาในการผลิต ย้ายฐานการผลิตยาก และต้องใช้ต้นทุนสูงในการสร้างโรงงาน เพราะว่าเจ้าของแบรนด์นั้นจะต้องลงทุนซื้อเครื่องมือในการผลิต โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการช่วยผลิต อย่างอาหารเสริม ในรูปแบบ การอัดเม็ด รูปแบบซอฟเจล เป็นต้น นอกจากนั้น ยังจะต้องเสียเวลาในการวิจัยและพัฒนาสูตรอาหารเสริมเอง ต้องมีทั้งเครื่องมือ นักวิจัย จ้างพนักงานผลิต และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่พร้อม ภาพใหญ่โดยรวมค่อนข้างยุ่งยาก ยากต่อการควบคุมคุณภาพ

 

มีสองตัวเลือกที่ต้องพิจารณาเมื่อพูดถึงการผลิต ว่าจะเลือกใช้โรงงานเพื่อผลิตสินค้าของคุณ หรือตั้งโรงงานผลิตของคุณเอง เมื่อตัดสินใจเลือก สิ่งสำคัญคือต้องชั่งน้ำหนักข้อดีและข้อเสียของแต่ละตัวเลือกอย่างรอบคอบ

หากคุณเลือกโรงงาน คุณจะต้องค้นหาโรงงานที่เชื่อถือได้ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการในการผลิตของคุณ และรับประกันการควบคุมคุณภาพ ต้องเจรจาข้อตกลงและค่าใช้จ่าย และกำหนดลำดับเวลาที่ชัดเจนสำหรับการผลิต ในทางกลับกัน การตั้งโรงงานผลิตของคุณเองจำเป็นต้องมีการลงทุนที่มากขึ้น แต่ช่วยให้คุณควบคุมกระบวนการผลิตทั้งหมดได้มากขึ้น จะต้องเข้าใจโลจิสติกส์ในการรับวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และการจัดการการดำเนินงานในแต่ละวันของสถานที่

ท้ายที่สุด การตัดสินใจระหว่างใช้โรงงานรับผลิตหรือตั้งโรงงานผลิตของคุณเอง จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงงบประมาณ ปริมาณการผลิต และระดับการควบคุมกระบวนการผลิตที่ต้องการ


อ้างอิง 

Facebook
Twitter
Pinterest