รูปแบบอาหารเสริม มีอะไรบ้าง ? แนะนำรูปแบบการผลิตยอดนิยมสำหรับสร้างแบรนด์
อีกหนึ่งธุรกิจที่กำลังมาแรงในแวดวงของกลุ่มคนสตาร์ทอัพ ซึ่งเริ่มสร้างธุรกิจด้วยตัวเองเพียงอายุน้อย แน่นอนเลยว่ามีเหล่าคนดังอย่าง คนบันเทิง ยูทูบเบอร์ หรือ แม้กระทั่งผู้ที่มีชื่อเสียงทางโลกออนไลน์ มีผู้ติดตามหลักแสน หรือ หลักล้านคน ก็เริ่มที่จะขยับขยายเข้าสู่วงการอาหารเสริม หรือ เครื่องสำอางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยรูปแบบของอาหารเสริมนั้นเป็นแบรนด์ที่มีการตอบโจทย์ลูกค้าในเรื่องสุขภาพ ความงาม รวมไปถึงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันมากมาย อีกทั้งยังทานง่าย ขายง่าย สร้างรายได้ให้กับตัวแทนขาย รวมทั้งแม่ทีมอีกด้วย สำหรับวันนี้ เราจะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับ รูปแบบอาหารเสริม รวมทั้งคำแนะนำเกี่ยวกับการผลิตอาหารเสริม ด้วยรูปแบบยอดนิยม สำหรับคนอยากมีแบรนด์เป็นของตัวเอง ข้อมูลที่นี่ครบจบในที่เดียว ถ้าพร้อมแล้ว ติดตามรายละเอียดของเรื่องนี้ได้ในบทความนี้
6 รูปแบบอาหารเสริมสำหรับสร้างแบรนด์ยอดนิยม
เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจที่กำลังมาแรง กับ ธุรกิจสร้างแบรนด์อาหารเสริม ไม่ว่าจะเป็นอาหารเสริมวิตามิน หรือ จะเป็นคอลลาเจน บอกตรงนี้เลยว่ากำลังเป็นที่นิยม ยอดขายดี เพราะตอนนี้ผู้คนเริ่มหันมาสนใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น หลังจากมีบางท่านติดเชื้อโควิด-19 จนมีความกังวลเรื่องสุขภาพมากขึ้นนั่นเอง
โดยตอนนี้มีแบรนด์เกี่ยวกับอาหารเสริมเพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงแบรนด์เถื่อนที่ไม่ผ่านการจดทะเบียนด้วย ซึ่งตรงนี้ก็ต้องใช้ความระวังกันหน่อยสำหรับผู้ซื้อ ก่อนอื่นเลยเราต้องทำความเข้าใจกับคำว่า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกันก่อน
รู้จักอาหารเสริม
ความหมายที่แท้จริงของ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม คือ กลุ่มสารอาหารที่รับประทานเข้าไปนอกเหนือจากการทานอาหารปกติ โดยรูปแบบของผลิตภัณฑ์จะมีความเหมือนกับยา แต่อาหารเสริมที่รับประทานไปนั้น ไม่ได้มีหน้าที่รักษา หรือ บำบัดโรคแต่อย่างใด จึงไม่ได้ถูกให้จัดเป็นผลิตภัณฑ์ยา ดังนั้นแล้วในขั้นตอนของการสร้างอาหารเสริมเป็นแบรนด์ของตัวเอง จะมีการพิจารณารูปแบบเพื่อส่งเสริมการทำงานด้านการดูดซึมสารอาหาร เพื่อที่จะให้ร่างกายสามารถดึงเอาประโยชน์จากสารอาหารนั้น มาใช้ให้มากที่สุดนั่นเอง
โดยรูปแบบของอาหารเสริมนั้น ถูกจัดออกเป็น 6 ประเภทด้วยกัน นั่นก็คือ
- อาหารเสริมแบบเม็ด หรือ รูปแบบอัดเม็ด
- อาหารเสริมแบบ แคปซูล
- อาหารเสริมแบบ ซอฟเจล
- อาหารเสริมรูปแบบแคปซูลเซลลูโลส
- อาหารเสริมรูปแบบผง
- อาหารเสริมรูปแบบของเหลว
โดยปกติแล้วนั้น เจ้าของแบรนด์จะต้องมีการวางแผนที่จะผลิตอาหารเสริมในรูปแบบใด รูปแบบหนึ่ง แต่ทว่าต้องคำนึงถึงคุณภาพของอาหารเสริมด้วยว่า การผลิตในรูปแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุด ดังนั้นพวกเราจะพาไปชม ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลสำคัญของแต่ละประเภทกันทั้ง 6 แบบ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม รวมทั้งแนะนำ ขั้นตอนการสร้างแบรนด์อาหารเสริม ที่คุณควรรู้ก่อน ซึ่งจะทำให้คุณได้ตัดสินใจง่ายขึ้น
1. อาหารเสริมรูปแบบอัดเม็ด
สำหรับอาหารเสริมประเภทนี้ จะมีกระบวนการผลิตคือ การนำผง พร้อมทั้งสารสกัดต่าง ๆ อัดรวมเข้าด้วยกัน ให้มีขนาดที่ต้องการ โดยจะมีหลากหลายทรง ไม่ว่าจะเป็น ทรงกลม ทรงเหลี่ยม ทรงรี รวมทั้ง การเคล็บเม็ด หรือ ไม่เคลือบ ขึ้นอยู่กับเจ้าของแบรนด์ว่าต้องการให้อาหารเสริมมาในรูปแบบใด
ข้อดีของการผลิต รูปแบบเม็ด
- จะสามารถกำหนดขนาด รูปแบบ ของอาหารเสริมได้
- สามารถควบคุมขนาดของสารสกัด รวมทั้งปริมาณของสารได้
- สามารถควบคุมน้ำหนัก ของอาหารเสริมได้
- สำหรับอาหารเสริมในรูปแบบเม็ด สามารถออกฤทธิ์ได้เร็ว เห็นผลเร็ว
- อาหารเสริมแบบเม็ด จะสามารถเก็บรักษาได้นาน 1-3 ปี
ข้อเสียของการผลิต รูปแบบเม็ด
- ไมได้รับรส รวมทั้ง กลิ่นสัมผัสต่าง ๆ เวลารับประทาน
- ถ้าหากว่าต้องการผลิตอาหารเสริมแบรนด์ ต้องใช้ปริมาณเม็ดมาก อาจส่งผลต่อค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น กล่อง หรือ ฟอยล์แผงใส่
- อาหารเสริมรูปแบบอัดเม็ด คนทานยาเม็ดไม่เป็น ทานยาก อาจสำลัก หรือ ติดคอได้
- ถ้าหากว่ามีการเพิ่มส่วนอื่น จะทำให้สารสกัดน้อยลง รวมทั้งประสิทธิภาพในการทำงานด้วย
ถึงแม้ว่าอาหารเม็ด จะมีข้อเสียอยู่สำหรับคนบางกลุ่ม รวมทั้งถ้าหากว่าเป็นแบรนด์ดังที่มีกำลังการผลิตมาก อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่อง ฟอยล์แผง หรือ กล่องมาเพิ่ม อาจจะต้องคิดถึงค่าใช้จ่ายในส่วนการแพ็คสินค้า
2. อาหารเสริมรูปแบบแคปซูล
การผลิตอาหารเสริมในรูปแบบแคบซูล อาจจะพบได้ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมทั่วไป เพราะแคปซูลมาจากเจลาตินต่าง ๆ ของสัตว์
ข้อดีของการผลิต รูปแบบแคปซูล
- จะสามารถกำหนดขนาดรวมทั้งรูปแบบ ของอาหารเสริมแบบแคปซูลได้
- จะสามารถควบคุมขนาด กับ ปริมาณของสารสกัดได้
- จะสามารถควบคุมน้ำหนักของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้
- จะสามารถเพิ่มขนาด หรือ ปริมาณในการรับประทานในแต่ละครั้ง เพื่อให้ได้ซึ่งผลลัพธ์ที่แน่นอน
- จะสามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลานาน
- จะช่วยในการรับประทานได้ง่ายขึ้นกว่า อาหารเสริมแบบเม็ด
- มีคุณสมบัติที่ ช่วยในการป้องกันความชื้นได้ ถึงแม้จะไม่มากก็ตาม
ข้อเสียของการผลิต รูปแบบแคปซูล
- จะไม่สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยตาเปล่า เพราะสารอาหารอยู่ในตัวแคปซูล
- ข้อจำกัดของขนาดอาหารเสริมแบบแคปซูลนั้น จะทำให้จำกัดในปริมาณในการใส่สารสกัดต่อ 1 หน่วย เท่านั้น
- อาหารเสริมแบบแคปซูลนั้น ผู้ที่ทานมังสวิรัติ อาจจะไม่สามารถรับประทานได้ เพราะมีเจลาตินจากสัตว์
การผลิตในรูปแบบแคปซูล จะทานง่ายขึ้นกว่าแบบเม็ด แต่ด้วยข้อจำกัดของคนรักสุขภาพบางท่านที่ทานเจ หรือ มังสวิรัติ อาจจะไม่สามารถทานเจลาตินจากสัตว์ ที่เป็นตัวกรอบแคปซูลได้
3. อาหารเสริมรูปแบบซอฟเจล
อาหารเสริมแบบซอฟเจล จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลว ตัวอย่างเช่น น้ำมันปลา หรือ สารสกัดที่ไม่สามารถเข้ากับผงแห้งได้ ดังนั้นในการผลิตอาหารเสริมในรูปแบบซอฟเจล คือ การผลิตอาหารเสริมที่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบของเหลว ตัวอย่างเช่น น้ำมันปลา น้ำมันสน นั่นเอง แต่กระบวนการผลิตจะมีคุณภาพสูง
ข้อดีของการผลิต รูปแบบซอฟเจล
- การผลิตในรูปแบบซอฟเจล จะเป็นเปลือกเจลาตินแบบนิ่ม ง่ายต่อการรับประทาน
- ในรูปแบบซอฟเจล จะช่วยปกป้องกลิ่นของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ดี
- ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมของร่างกาย โดยร่างกายจะนำไปใช้ได้ดีขึ้น
- เป็นอีกหนึ่งประเภทของอาหารเสริมที่มั่นใจได้ว่า ไม่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปด้านใน เพราะจะต้องปิดผนึกให้สนิท ไม่รั่วซึมด้วย
ข้อเสียของการผลิต รูปแบบซอฟเจล
- ค่าใช้จ่ายที่สูง เพราะกระบวนการผลิตใช้เทคโนโลยีที่มีคุณภาพสูง
- หากซอฟเจลถูกกดทับ อาจจะเสียหายได้ง่ายกว่ารูปแบบอื่น เพราะลักษณะแคปซูลจะนิ่ม
ซึ่งการผลิตอาหารเสริมในรูปแบบซอฟเจลนั้น จำเป็นที่จะต้องมีทุนการผลิตค่อนข้างสูง เพราะว่าจะต้องใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สูง เครื่องจักรที่มีคุณภาพ รวมทั้งก่อนการลงบรรจุ บรรจุภัณฑ์ ที่อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินงบประมาณ
4. อาหารเสริมรูปแบบแคปซูล เซลลูโลส
สำหรับอาหารเสริมประเภทนี้จะมีความคล้ายกับ อาหารเสริมรูปแบบแคปซูล แต่ทว่าแคปซูล เซลลูโลสนั้น จะสามารถใช้กับกลุ่มคนที่เป็นมังสวริรัต หรือ ผู้ที่ทานเจได้นั่นเอง เพราะว่าแคปซูลชนิดนี้ผลิตมาจากเส้นใยของผัก ดังนั้นจะทำให้มีราคาสูงมากกว่าแคปซูลทั่วไป ส่วนข้อดี กับข้อเสีย นั้นจะต่างกันที่ต้นทุนของแคปซูล เซลลูโลส สูงกว่านิดหน่อย
5. อาหารเสริมรูปแบบผง
อาหารเสริมในรูปแบบผงนั้น จะเป็นการชงผสมน้ำ ให้ละลายแล้วดื่ม ซึ่งเป็นรูปแบบที่ทานง่าย สะดวกสำหรับคนที่ชอบความรวดเร็ว
ข้อดีของการผลิต รูปแบบผง
- มีคุณสมบัติที่สามารถดูดซึมได้ดี
- แบบผงสามารถรับประทานได้ง่าย เพียงละลายน้ำและ ชงดื่มได้ทันที
- เป็นอาหารเสริมที่ สามารถเพิ่มเติม สี รสชาติ ได้ตามต้องการ
- หรือ จะนำไปผสมสารสกัดเข้มข้น คุณภาพ เพื่อให้ได้ตามความต้องการของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้
ข้อเสียของการผลิต รูปแบบผง
- ผลิตภัณฑ์จะมีขนาดใหญ่ อาจจะส่งผลในเรื่องของขนาด กับ น้ำหนัก กับ อาหารเสริมประเภทผง
- ต้องระวังความชื้น เพราะรูปแบบผงจะมีจุดอ่อนอยู่ที่ตรงนี้ อาจจะเสียหายง่าย
- ค่าใช้จ่ายเรื่อง หีบห่อ หรือ บรรจุภัณฑ์ อาจจะมีเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเก็บรักษา
สำหรับอาหารเสริมชนิดผงนั้น ยังสามารถผสมกับสารสกัดอื่นได้หลายรูปแบบ แต่ก็ต้องใช้ซองที่ใหญ่ขึ้น น้ำหนักก็มากขึ้นด้วย ยังไงผู้ลงทุนก็ต้องคิดในจุดนี้ อีกทั้งรูปแบบผงนั้นมีอาการใช้งานที่ยาวนาน ทานสะดวกเพียงละลายน้ำ จะละลายทิ้งไว้ดื่มตลอดวันก็ยังได้ แน่นอนว่าเป็นอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมอย่างผลิตภัณฑ์ คอลลาเจน ไฟบเอร์ หรือ ดีท็อก และ ผลิตภัณฑ์บำรุงไขข้อด้วย
6. อาหารเสริมรูปแบบของเหลว หรือน้ำ
สำหรับอาหารเสริมประเภทนี้ จะมาในรูปแบบพร้อมดื่ม แต่ก็จะมีราคาที่สูงขึ้น ซึ่งการผลิตในรูปแบบนี้มีกว้างขวางขึ้น ซึ่งนิยมนำผลไม้บางชนิดมาเพิ่มความหวาน ในการรับประทานให้อาหารเสริมประเภทนี้อร่อยขึ้นด้วย โดยมีข้อดี ข้อเสีย ดังต่อไปนี้
ข้อดีของการผลิต รูปแบบน้ำ
- รูปแบบน้ำ จะง่ายต่อการรับประทานอาหารเสริม
- สามารถเก็บรักษาได้นาน ยังคงคุณภาพดี
- รูปแบบของน้ำ ยังสามารถเพิ่มสารสกัดเข้มข้นคุณภาพ ในปริมาณที่ต้องการได้
ข้อเสียของการผลิต รูปแบบน้ำ
- อาจจะเกิดตะกอนขึ้น หากผสมน้ำแล้วดื่มไม่หมด
- อาจจะต้องมีการเขย่าก่อนดื่ม เพื่อให้สารสกัดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- อาหารเสริมประเภทน้ำ มีผลกระทบเมื่อ อยู่ในพื้นที่โดดแสงแดด หรือเปิดดื่มแล้วไม่หมด อาจจะทำให้ประสิทธิภาพของอาหารเสริมนั้นทำงานได้ไม่เต็มที่
สำหรับรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ของ อาหารเสริมแบบน้ำ จะต้องเป็นขวดเท่านั้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณ และ ขนาดที่สามารถพกพา หรือ ใช้งานได้สะดวกมากน้อยแค่ไหน เช่น เกลียวเปิด ฝาเปิด หรือ จะใช้เป็นการล็อกแบบไหน ซึ่งถ้าสามารถนำสารสกัดที่ปริมาณเพียงพอต่อวันใช้ในขวดเดียวได้ จะทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแบบน้ำดูน่าสนใจมากขึ้น
เป็นอันครบเรียบร้อยสำหรับทั้ง 6 รูปแบบอาหารเสริม ซึ่งแต่ละรูปแบบก็น่าสนใจไม่มีใครแพ้ใคร โดยในปัจจุบันนี้เราได้เห็นครบทั้ง 6 แบบนี้แล้วแน่นอน กับ อาหารเสริมแบบเม็ด, แคปซูล, ผง, น้ำ, ซอฟเจล รวมไปถึง แคปซูลแบบ เซลลูโลส ที่ตอบโจทย์คนไม่ทานเนื้อสัตว์ อย่างไรก็ตาม การที่คุณจะก้าวขึ้นมาทำธุรกิจเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์อาหารเสริม ก็จะต้องมีความคิดที่จะเลือกรูปแบบอาหารเสริมให้เหมาะกับแบรนด์ของคุณด้วย
เลือกรูปแบบอาหารเสริมแบบไหนให้เหมาะกับแบรนด์
ธุรกิจอาหารเสริม มีความหลากหลายมากในประเทศไทย ซึ่งในช่วงเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา มีแบรนด์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยมีดารา นักร้อง หรือ ผู้ที่ชื่อเสียงเข้ามาทำธุรกิจนี้ พร้อมกอบโกยกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ อย่างไรก็ตามการเริ่มต้นทำธุรกิจอาหารเสริมนั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องกลัวคู่แข่ง ถ้าหากว่าสินค้าของคุณนั้นมีคุณภาพที่ดี ใช้แล้วเห็นผล ตอบโจทย์ลูกค้า
คุณเองก็สามารถเป็นเจ้าของแบรนด์อาหารเสริมได้เช่นกัน แต่เรื่องราวที่คุณจะต้องศึกษานั่นก็คือ แนวโน้มของตลาด รวมทั้งความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน ว่าต้องการอาหารเสริมแบบไหน ซึ่งจะทำให้คุณตัดสินใจในการเลือกรูปแบบอาหารเสริมได้ดีขึ้น
สภาพตลาดอาหารเสริม กับแนวโน้มของลูกค้า
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเจ็บป่วย เราทุกคนจะต้องพบเจอกันหมด แต่ทว่าสาเหตุหลักเลยก็คือ การดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ซึ่งเรื่องนี้เคยเกิดขึ้นในช่วงโควิด-19 ระบาดอย่างหนัก คนไทยก็กลับมาสนใจพืชสมุนไพร อาหารเสริมชนิดเม็ด หรือ ชนิดแคปซูล อย่าง “ฟ้าทะลายโจร” กันมากขึ้น เพราะมีข่าวว่าสามารถป้องกันเชื้อโควิดได้ แน่นอนเลยว่าความน่ากลัวของโรคนี้ทำให้ผู้คนแห่ไปซื้อยาชนิดนี้จนหมดเกลี้ยงแผง แถมยังมีการกดราคากันอย่างหนัก
ดังนั้นแล้วแนวโน้มตลาดที่น่าสนใจคือ อาหารเสริมที่เป็นสมุนไพรไทย เช่น กลุ่มสินค้า ออร์แกนิก พืชผักสมุนไพร หรือ เครื่องดื่มที่มีการผสมวิตามิน แร่ธาตุ มาจากสมุนไพรไทย ก็น่าสนใจมากที่จะนำมาสร้างเป็นแบรนด์อาหารเสริม อีกทั้งกระแสสุขภาพที่มาแรง จะทำให้การเป็นเจ้าของแบรนด์สมุนไพรดูน่าสนใจไม่ใช่น้อย หรือคุณอาจจะสนใจข้อมูล วิตามินอาหารเสริมที่ขายดี มีอะไรบ้าง ?
รูปแบบอาหารเสริม ที่เหมาะกับแบรนด์
ดูเหมือนว่ารูปแบบของอาหารเสริม ที่คุณอาจจะต้องตัดสินใจ เช่น ถ้าอยากสร้างแบรนด์คอลลาเจน ก็จะต้องเลือกรูปแบบการผลิตในรูปแบบของ ซอฟเจล หรือ แบบผง ที่ทานง่าย ละลายน้ำทานได้ แต่ถ้าหากว่าเลือกในแบบอื่น การดูดซึมก็ไม่ได้ดีเท่า 2 แบบนี้ แต่ในส่วนที่เป็นอาหารเสริมเช่นวิตามินซี หรือ วิตามินชนิดอื่น ก็จะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการดูดซึมของร่างกาย ว่าเหมาะกับสินค้ารูปแบบไหน แล้วจึงค่อยตัดสินใจ ด้วยกระแสรักสุขภาพที่มาแรงเชื่อเลยว่าตลาดอาหารเสริมกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ยิ่งผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ มีการรีวิวได้ผลอย่างแท้จริง สินค้าของคุณจะถูกยกให้เป็นอันดับเบอร์ต้น ๆ ของตลาดอาหารเสริมอย่างแน่นอน
ข้อที่สำคัญมากสำหรับการสร้างแบรนด์อาหารเสริม ก็คือ ห้ามอวดอ้างสรรพคุณที่เกินความจริง แต่ให้เน้นไปที่การบำรุงสุขภาพจะดีกว่า เพราะถ้ามีการอวดอ้างสรรพคุณที่เกินจริง หรือ รีวิวปลอม ค่อนข้างที่จะส่งผลลบต่อภาพลักณ์แบรนด์อาหารเสริมแน่นอน ยิ่งในปัจจุบันนี้ โลกโซเชียลมีเดีย มีการแชร์ ส่งต่อ ทั้งเรื่องที่ดี ไม่ดี ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นแล้ว สิ่งที่คุณเองจะต้องรัดกุมก็คือ จะต้องผลิตอาหารเสริมที่มีคุณภาพ จากโรงงานคุณภาพ มีการรีวิวแบบพอเหมาะ การโฆษณาหรืออวดอ้างจะต้องอยู่ในขอบเขตที่ไม่ดูเกินความเป็นจริง นี่แหละจะทำให้ธุรกิจของคุณนั้นยังคงยั่งยืนเสมอมา
สุดท้ายนี้ ถ้าหากว่าแบรนด์อาหารเสริมที่คุณสร้างนั้นถูกติเตียน ก็ต้องยอมรับความจริง และ รีบแก้ไขให้ทัน ไม่เช่นนั้นแล้วลูกค้าจะมองว่าอาหารเสริมของคุณไร้คุณภาพ และทั้งหมดที่ก็คือข้อมูลของ รูปแบบอาหารเสริมยอดนิยม พร้อมคำแนะนำในการสร้างแบรนด์อาหารเสริม
อ้างอิง
- 6 รูปแบบอาหารเสริมอาหาร ที่นิยมที่สุดในการสร้างแบรนด์. https://www.zenbiotech.co.th/688
- ทำอาหารเสริมแบรนด์ตัวเอง อย่างไรให้รวย? https://taokaemai.com/ทำอาหารเสริมแบรนด์ตัวเ/
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 6 รูปแบบ เลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับแบรนด์คุณ. https://www.รับผลิต.com/uncategorized/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร/