กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ตั้งอย่างไรให้แบรนด์ประสบความสำเร็จ
เมื่อพูดถึงการสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญคือต้องมุ่งเน้นไปที่ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพราะเมื่อเข้าใจว่าลูกค้าในอุดมคติของคุณคือใครและต้องการอะไร จะทำให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตรงกับความต้องการของพวกเขาได้
ก่อนอื่นต้องเข้าใจแบรนด์มีอะไรเป็นแรงจูงใจให้พวกเขา และต้องเข้าใจว่าพวกเขาต้องการอะไรมากที่สุด หรืออย่างการสร้างแบรนด์ที่มีสองวิธีหลักในการดำเนินการ อย่างการโฆษณาผ่านการตลาด โฆษณาสิ่งพิมพ์ ทางโทรทัศน์ หรือทางออนไลน์ รวมถึงการสร้างแบรนด์ให้ติดตลาดและทำให้ผู้คนรู้จัก เพื่อติดต่อหรือรีวิวแบรนด์ของคุณมากขึ้น โดยการสร้างเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าเป้าหมายของคุณ
แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกวางแผนการตลาดแบบใด ต้องแน่ใจว่าคุณกำลังมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายของคุณด้วย เพราะคุณจะไม่สามารถสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จได้ หากไม่รู้จักลูกค้าของคุณคือใครและต้องการอะไร ซึ่งเมื่อคุณได้สร้างพื้นฐานเหล่านี้แล้วก็ถึงเวลาที่จะเริ่มสร้างแบรนด์ของคุณได้แล้ว
กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คืออะไร
การเริ่มสร้างแบรนด์ ต้องสำรวจและวางแผนเพื่อกำหนดตัวตนให้สอดคล้องกับสินค้าหรือบริการ ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อหรือ กลุ่มเป้าหมาย ทั้งยังทำให้แบรนด์ดำเนินไปอย่างมีแบบแผนและแนวทางที่ชัดเจน ถูกต้อง เป็นระบบ ซึ่งจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์และพัฒนาแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ของสินค้า คือ กลุ่มลูกค้าที่เราต้องการขายผลิตภัณฑ์ ซึ่งกลุ่มลูกค้านั้นต้องการหรือกำลังมองหาสินค้าที่แบรนด์ผลิต เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ เช่น กลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบการออกกำลังกายหรือเหงื่อออกง่ายก็มักหาซื้อผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย เป็นต้น
การวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมาย ให้ตรงจุด จะช่วยเพิ่มทั้งยอดขายและภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการกำหนดกลุ่มเป้าหมายควรกำหนดให้ชัดเจนและไม่กว้างมากเกินไป เช่น เพศ ช่วงอายุ กำลังซื้อ เป็นต้น จะช่วยให้สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนั้นได้จริง เมื่อรู้แล้วว่า กลุ่มเป้าหมาย ของแบรนด์เป็นใคร จะทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้นว่าควรดำเนินทิศทางของแบรนด์ไปในทางใด จะทำการตลาดให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร ทำให้สามารถประหยัดต้นทุนและดำเนินการได้ตามแผนธุรกิจได้อีกด้วย
ทำไมการตั้งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจึงสำคัญต่อการสร้างแบรนด์
การตั้งกลุ่มเป้าหมาย ของแบรนด์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะแบรนด์จะสามารถนำไปวางแผนทางการตลาดได้ดีขึ้น หากไม่ทราบว่ากลุ่มลูกค้าเป็นใคร ผลิตภัณฑ์นั้นก็อาจขายไม่ได้หรือไม่มีผลตอบรับใด ๆ ซึ่งการวางแผนทางการตลาดส่วนใหญ่นิยมวิเคราะห์ตามขั้นตอนของการวิเคราะห์ STP Marketing เป็นขั้นตอนดังนี้ คือ
- S=Segmentation คือ การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) การตลาดควรทราบว่ากลุ่มลูกค้าที่แบรนด์จะเข้าไปขายสินค้าเป็นตลาดใด มองส่วนตลาดที่แบรนด์ต้องการเข้าไปขาย เช่น สบู่ลดกลิ่นเหงื่อที่เหมาะสำหรับคนออกกำลังกายหรือคนที่ทำกิจกรรมในแต่ละวันแล้วเหงื่อออกมาก ตลาดก็คือตลาดของกลุ่มคนที่ชอบออกกำลังกาย แล้วมาแบ่งส่วนย่อยว่าเป็นตลาดของผู้หญิงหรือผู้ชาย เป็นต้น
- T=Target คือ กลุ่มเป้าหมาย (Target market) ฝ่ายขายหรือการตลาดต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าผลิตภัณฑ์ของแบรนด์เหมาะกับคนกลุ่มไหนในตลาดที่แบ่งส่วนไว้แล้ว เช่น ฝ่ายขายวิเคราะห์ว่าสบู่ลดกลิ่นเหงื่อ ลูกค้าต้องเป็นกลุ่มผู้หญิงหรือผู้ชายที่ชอบออกกำลังกาย แล้วก็มาศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อ เช่น ช่องทางการจัดจำหน่าย ราคาที่เหมาะสม เพื่อให้กับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น
- P=Positioning คือ การวางตำแหน่งสินค้าว่าเป็นอยู่ในเกรดอะไร หากวางตำแหน่งสินค้าให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย จะทำให้สินค้าขายดี เพราะมีช่องทางที่ถูกต้อง ราคาที่เหมาะสม ตัวอย่าง สบู่ลดกลิ่นเหงื่อได้กลุ่มเป้าหมายเป็นสาว ๆ หรือหนุ่ม ๆ ที่มาวิ่งออกกำลังกายตามสวนสาธารณะหรือที่ฟิตเนส มีความต้องการสบู่ที่สามารถช่วยทำความสะอาดผิว ลดกลิ่นเหงื่อได้ดี ราคาไม่แพง หาซื้อง่าย มีช่องทางการจำหน่ายทั้งหน้าร้านและทางออนไลน์ เป็นต้น
แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในการขาย เพราะเจ้าของแบรนด์จะค้นหากลุ่มเป้าหมายตัวจริงไว้ และวางกลยุทธ์การขายไปพร้อมกัน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาแบรนด์ให้ตรงกับความต้องการและการซื้อสินค้าด้วย หรือหากมีผลิตภัณฑ์สินค้าใหม่ ๆ ที่ต้องการพัฒนาขึ้นก็ลองเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มปริมาณการขายให้มากขึ้น
การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย โดยการวางแผนก่อนและระบุลักษณะของกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนจะทำให้แบรนด์เจาะกลุ่มลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ทำให้สามารถเลือกช่องทางการขายหรือช่องทางประชาสัมพันธ์ทางการตลาดได้ ซึ่งจะทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น
วิธีตั้งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายสำหรับการสร้างแบรนด์
วิธีตั้งกลุ่มเป้าหมาย สามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
- เพศ กำหนดให้ได้ว่าส่วนใหญ่เป็นเพศอะไรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์
- อายุ กำหนดช่วงอายุของกลุ่มเป้าหมายว่า ส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่เท่าไหร่ถึงเท่าไหร่
- รายได้ กำหนดรายได้ต่อเดือนว่ากลุ่มลูกค้าควรมีรายได้ประมาณเท่าไหร่ เพื่อจะได้วางกลยุทธ์เรื่องราคาของสินค้าได้
- พฤติกรรมความชอบ กำหนดว่ากลุ่มเป้าหมายมักชอบอะไร เพื่อวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้ เช่น สี ขนาด กลิ่น หรือรูปทรงของผลิตภัณฑ์
- สถานที่ การกำหนดที่อยู่ของกลุ่มเป้าหมายได้จะทำให้หาช่องทางขายได้ดีขึ้น เพราะทำให้ประชาสัมพันธ์หรือทำการตลาดตรงไปขายยังกลุ่มเป้าหมายได้
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายสามารถนำไปใช้สร้างแบรนด์ได้อย่างไรบ้าง
โดยปกติแล้วแบรนด์จะให้ความสนใจกับกลุ่มเป้าหมายหลักของแบรนด์มากที่สุด เนื่องจากคาดหวังให้พวกเขากลายเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีมูลค่ามากที่สุดของแบรนด์ เป็นกลุ่มที่มีการจับจ่ายและเพิ่มมูลค่าให้กับแบรนด์สูง ส่วนกลุ่มเป้าหมายรองของแบรนด์ คือ กลุ่มคนกลุ่มอื่นที่มีลักษณะร่วมกันและอาจสนใจสินค้าแบรนด์ ไม่ใช่กลุ่มลูกค้าที่มีมูลค่ามากที่สุด แต่ก็สามารถขายสินค้าให้ได้ รวมทั้งยังสามารถทำไปวิเคราะห์เพื่อทำการตลาดเพิ่ม หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ได้ รวมถึง การขายสินค้าบน แพลตฟอร์มออนไลน์ อีกช่องทางที่จะสร้างยอดขายให้พุ่ง
ดังนั้น ภาพลักษณ์ของแบรนด์และการประชาสัมพันธ์ก็เป็นเหมือนการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายว่าแบรนด์เป็นอย่างไร ผลิตภัณฑ์ตรงกับลักษณะการใช้ชีวิต และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าหรือไม่ นอกจากที่จะต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมายให้ดีแล้ว การวิเคราะห์แบรนด์และคู่แข่ง ว่ามีจุดยืน จุดต่างอะไรที่ควรนำเสนอออกมา หรือเรียนรู้ทำความเข้าใจคู่แข่งด้วย เพื่อหาจุดแตกต่าง ก็จะยิ่งทำให้สร้างจุดยืนของแบรนด์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใครออกมาได้
การตลาดเพื่อสร้างแบรนด์เป็นการเน้นจุดแข็ง เพื่อให้คงประสิทธิภาพในระยะยาว สร้างการจดจำแบรนด์และทำให้แบรนด์เป็นที่จดจำต่อกลุ่มเป้าหมายได้ เมื่อแบรนด์มีความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ ยังนำไปพัฒนาต่อร่วมกับการตลาดได้ด้วย เพื่อช่วยส่งเสริมการสนับสนุนแบรนด์และความภักดีในกลุ่มลูกค้า
การเลือกโรงงานผลิต
สิ่งสำคัญอีกอย่างในการทำแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ นั่นคือ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ อย่างการเริ่มทำแบรนด์สบู่ลดกลิ่นเหงื่อ เมื่อวางแผนได้เรียบร้อยแล้วก็ก้าวเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตและจำหน่าย โดยการเลือกโรงงานผลิตมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา และ เรื่องที่ต้องระวังเมื่อจ้างโรงงานรับผลิต แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือคุณภาพของสบู่ต้องมีคุณภาพสูง เพราะไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อผิวเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เคล็ดลับในการเลือกโรงงานผลิตสบู่ที่ดีมีดังนี้
- มองหาโรงงานผลิตสบู่ที่มีชื่อเสียง จุดเริ่มต้นที่ดีคือการมองหาโรงงานสบู่ที่อยู่ในธุรกิจมาเป็นเวลานาน สิ่งนี้จะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าสบู่ที่ผลิตย่อมมีคุณภาพสูง
- ตรวจสอบรายการส่วนผสมและเลือกรูปแบบของสบู่ให้เรียบร้อย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าส่วนผสมที่ใช้ในสบู่มีคุณภาพสูงและปราศจากสารเคมีอันตราย หลีกเลี่ยงสบู่ที่มีสารเคมีรุนแรงซึ่งสามารถทำลายผิวได้
- วางแผนการออกแบบต่าง ๆ เช่น กล่องบรรจุภัณฑ์ โลโก้ ฉลากสินค้า ตลอดจนยื่นขออนุมัติเลขที่จดแจ้งภายใต้แบรนด์ เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ
- ทดสอบสบู่ก่อนสั่งผลิต ก่อนสั่งผลิตสบู่ใด ๆ เจ้าของแบรนด์ต้องทดสอบและตรวจสอบก่อนว่าสบู่ตรงตามสูตร ได้มาตรฐานตามที่กำหนด รวมถึงความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสบู่ที่สั่ง หรือมีการทำปฏิกิริยากับแพ็กเกจที่บรรจุหรือไม่
- หากเรียบร้อยแล้วก็สามารถสั่งผลิต แล้วเตรียมกระจายสินค้า เพื่อจัดจำหน่าย และวางแผนการตลาดให้เหมาะสมได้เลย
โดยรวมแล้ว กลุ่มลูกค้าเป้าหมายในการสร้างแบรนด์มีความสำคัญต่อความสำเร็จอย่างมากแบรนด์ต้องระบุผู้บริโภคที่พวกเขาต้องการเข้าถึงและปรับแต่งความพยายามทางการตลาดให้สอดคล้องกัน ทั้งยังมีหลายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของแบรนด์ หากแบรนด์วางแผน ดำเนินงาน และมุ่งเป้าไปที่ฐานลูกค้าที่กำหนด รวมถึงการวิเคราะห์และประชาสัมพันธ์แบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ย่อมส่งผลให้แบรนด์ประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน
อ้างอิง
- ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย. https://www.facebook.com/business/learn/lessons/identify-target-audience
- การเลือกกลุ่มเป้าหมายของสินค้า. https://www.qualityplus.co.th/การเลือกกลุ่มเป้าหมายข/
- สร้างตัวตนแบรนด์ & ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่ใช่ จากกลยุทธ์การใช้ “ภาพ” https://stepstraining.co/entrepreneur/brand-image